วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2558

จิ้งหรีด

จิ้งหรีด
         จิ้งหรีด เป็นแมลงที่มีลักษณะปากเป็นแบบปากกัด มีตารวมหนวดยาวขาคู่หลังมีขนาดใหญ่
และแข็งแรง เพศเมียปีกเรียวและมีอวัยวะวางไข่ยาวแหลมคล้ายเข็มยื่นออกมาจากส่วนท้อง เพศผู้มีปีกคู่หน้าย่นสามารถทำเสียงได้ จิ้งหรีดจัดเป็นแมลงชนิดหนึ่งที่พบได้ในทุกภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะเขตร้อนอย่างประเทศไทย จิ้งหรีดมักกัดกินต้นกล้าของพืช ใบพืช ส่วนที่อ่อนๆ เป็นอาหาร จิ้งหรีดมีหลายชนิด หลายขนาดแตกต่างกันไปตามพฤติกรรมลักษณะพิเศษของจิ้งหรีดที่แตกต่าง
จากแมลงชนิดอื่นอย่างโดดเด่นและสังเกตได้ง่ายคือ การส่งเสียงร้องและการผสมพันธุ์ที่เพศเมีย
จะคร่อมบนเพศผู้เสมอ
ปัจจุบันคนนิยมบริโภคจิ้งหรีดเป็นอาหาร เพราะมีโปรตีนสูง ปลอดสารพิษ ในธรรมชาติ
จะหาจิ้งหรีดมาเพื่อบริโภคได้ไม่มากนัก บางฤดูมีมาก บางฤดูแทบจะหาไม่ได้เลย เช่นฤดูหนาว จิ้งหรีดจะขนายพันธุ์ช้า หากมีการจัดการที่ดี จะมีจิ้งหรีดไว้บริโภคหรือจำหน่ายได้ตลอด

ชนิดของจิ้งหรีด

จิ้งหรีดที่พบในประเทศไทย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มี 5 ชนิด
1. จิ้งหรีดดำ ลำตัวกล้างประมาณ 0.70 ซม. ยาวประมาณ 3 ซม. ตามะรรมชาติมี 3 สี คือ สีดำ สีทอง สีอำพัน โดยลักษณะที่เด่นชัดคือ จะมีจุสีเหลืองที่โคนปีก 2 จุด
2. จิ้งหรีดทองแดง ลำตัวกว้างประมาณ 0.60 ซม. ยาวประมาณ 3 ซม. มีลำตัวสีน้ำตาล เพศผู้มีสีเข้มกว่าเพศเมีย ส่วนหัวเหนือขอบตารวมต้านบนแต่ละด้านมีแถบสีเหลือ มองดูคล้าย
หมวกแก๊ป มีความว่องไวมาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกจิ้งหรีดนี้เป็นภาษาถิ่นว่า จินาย อิเจ๊ก จิ้งหรีดม้า เป็นต้น
3. จิ้งหรีดเล็ก มี ขนาดเล็กที่สุด สีน้ำตาล บางท้องที่เรียกว่า จิลอ จิ้งหรีดผี หรือ แอ้ด เป็นต้น ลักษณะคล้ายจิ้งหรีดพันธุ์ทอดแดง แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยขนาดประมาณหนี่งในสามของ
จิ้งหรีดพันธุ์ทองแดง
4. จิ้งโก่ง เป็นจิ้งหรีดขนาดใหญ่ สีน้ำตาล ลำตัวกว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 3.50 ซม. ชอบอยู่ในรูลึก โดยจะขุดดินสร้างรังอาศัยได้เอง และพฤติกรรมชอบอพยพย้ายที่อยู่เสมอ มีชื่อเรกแตกต่างกันไป เช่น จิโปม จิ้งกุ่ง เป็นต้น
5. จิ้งหรีดทองแดงลาย มี 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีปีกครี่งตัว และชนอดที่มีปีกยาวเหมือนจิ้งหรีดทั่วไป ตัวเต็มวัยสีน้ำตาลเข้ม ลำตัวกว้างประมาณ 0.53 ซม. ยาวประมาณ 2.05 ซม. ตัวเต็มวัยเหมือนพันธุ์ทองดแดงแต่เล็กกว่าประมาณครึ่งหนึ่ง

ประโยชน์การเลี้ยงจิ้งหรีด

1. เป็นทางเลือกหนึ่งในการประกอบอาชีพ
2. เพื่อส่งเสริมให้มีอาหารปลดสารพิษไว้บริโภค
3. เป็นกิจกรรมยามว่าง ส่งเสริมสุขาพจิต โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ
4. เป็นอาหารสัตว์ เช่น ไก่ กบ เป็น ปลา และอื่น ๆ
5. ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง (จิ้งหรีดกระป๋อง)
6. เพื่อการกีฬา เช่น ใช้เป็นเหยื่อตกปลา
ชีววิทยาของจิ้งหรีดจิ้งหรีดพันธุ์ทองแดงลาย รูปร่างลักษณะเป็นจิ้งหรีดขนาดเล็ก ตัวเต็มวัยสีน้ำตาลเข้ม
ลำตัวกล้างงบประมาณ 0.53 ซม. ยาวประมาณ 2.05 ซม. ตัวเต็มวัยเหมือนพันธุ์ทอดง
แดงลายแต่เล็กกว่า ประมาณครึ่งหนึ่ง ลักษณะนิสัย กินอาหารเก่ง โตไว ไม่ชอบบิน
เดินนุ่มนวลน่ารัก
วงจรชีวิต
ไข่ มี สีขาวนวล ลักษณะเรียวยาวคล้ายเม็ดข้าวสาร ไข่เมื่อฟักนาน ๆ จะมีสีเหลือ และดำ ก่อนจะฟักออกเป็นตัวอ่อน ใช้เวลาประมาณ 13 -14 วัน ถ้าเป็นฤดูหนาวประมาณ 20 วัน ตัวอ่อน ฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ มีสีครีมต่อมาเปลี่ยนเป็นสีดำและมีลายม่วง มีการลอกคราบ7 ครั้ง ระยะตัวอ่อนประมาณ 40 วัน ตัวเต็มวัย อายุ 40 วันขึ้นไป มีสีน้ำตาลเข้ม ตัวเล็กกว่าพันธุ์ทองแดง
ความแตกต่างของเพศผู้และเพศเมีย
เพศผู้ ปีกคู่หน้าย่น สามารถทำให้เกิดเสียงได้ โดยใช้ปีกคู่หน้าถูกัน เสียงที่จิ้งหรีดทำขึ้น
เป็นการสื่อสารที่มีความหมายของจิ้งหรีด
เพศเมีย ปีกคู่หน้าเรียบ และมีอวัยวะวางไข่ยาวแหลม คล้ายเข็มยาวประมาณ 1.50 ซม. การทำเสียงของเพศผู้ เกิดจากการใช้ปีกคู่หน้าถูหรือสีกัด ปกติปีกจะทัยกันเหนือลำตัว
เพศผู้ปีกขวาจะทับปีกซ้าย ส่วนเพศเมียปีกซ้ายจะทัยปีกขวา เวลาร้องจะยกปีกคู่หน้า
ขึ้นใช้ขอบของโคนปีกซ้ายูหรือสีกับฟันซี่เล็ก ๆ ที่เรียงกันเป็นแถวที่โคนด้านในของปีกขวา
พร้อม ๆ กับการโยกตัว เสียงร้องจะบ่งบอกถึงพฤติกรรมของจิ้งหรีดในขณะนั้น เช่น
ลักษณะ
แสดงพฤติกรรม
1. กริก…กริก…กริก…นานๆ อยู่โดนเดี่ยว ต้องการหาคู่ หรือหลงบ้าน
บางครั้งพเนจรร้องไปเรื่อย ๆ
2. กริก…กริก…กริก..เบา ๆ และถี่ ติดต่อกัน ต้องการผสมพันธุ์ ตัวผู้จะท้ายหลังเข้าหา
ตัวเมีย เพื่อขึ้นคร่อมรับการผสมพันธุ์
3. กริก…กริก…กริก..ยาวดัง ๆ 2 – 3 ครั้ง โกรธ หรือแย่งความเป็นเจ้าของ
4. กริก…กริก..กริก..ลากเสียงยาว ๆ ประกาศอาณาเขต หาที่อยู่ได้แล้ว
การผสมพันธุ์เมื่อลอกคราบเป็นตัวเต็ววัยประมาณ 3-4 วัน ก็จะเริ่มผสมพันธุ์ ตัวผู้จะส่งเสียงเรียกหาตัวเมีย ตอนแรกจะส่งเสียงเรียกหาตัวเมีย ตอนแรกจะส่งเสียงดังและร้องเป็นช่วงยาว ๆ เพื่อให้ตัวเมียเข้ามาอยู่ใกล้ ๆ จิ้งหรีดจะอาศัยเสียงร้องเท่านั้น จึงจะเห็นเพศตรงข้าม เนื่องจากสายตาไม่ดี หนวดรับการสัมผัสไม่ค่อยดี จะสังเกตได้ เมื่อตัวเมียเกาะอยู่นิ่ง ๆ ตัวผุ้จะเดินผ่านไปทั้ง ๆ ตัวเมียอยู่ใกล้ เมื่อพบตัวเมียแล้วเสียงร้องจะเบาลงเป็นจังหวะสั้น ๆ กริก..กริก..กริก.. ถอยหลังเข้าหาตัวเมีย เพื่อให้ตัวเมียขึ้นคร่อมรับการผสมพันธุ์ ใช้เวลาประมาณ
10 – 15 นาที โดยตัวผู้จะยื่นอวัยวะเพศแทงไปที่อวัยวะเพศเมีย แล้วปล่อยถุงน้ำเชื้อมีลักษณะ
ปลายเป็นลูกศรออกไปติดที่อวัยวะเพศเมีย หลังจากนั้น ถูงนำเชื้อจะฝ่อลง ตัวเมียจะใช้ขาเขี่ย
ถุงน้ำเชื้อทิ้งไป

การวางไข่
หลังากผสมพันธุ์แล้ว 3- 4 วัน ตัวเมียจะเริ่มวางไข่โดยใช้อวัยวะที่ยาวแหลมคล้ายเข็ม
ความยาวประมาณ 1.50 ซม. แทงลงไปในดินลึก 1-1.50 ซม. และวางไข่เป็นกล่ม ๆ ละ
3 – 4 ฟอง ตัวเมีย 1 ตัว จะวางไข่ได้ประมาณ 1,000 – 1,200 ฟอง ปริมาณไข่สูงสุดช่วง
วันที่ 15 -16 นับจากการผสมพันธุ์ จากนั้นไข่จะลดลงเรื่อย ๆ จนหมดอายุขัย
วัสดุ อุปกรณ์การเลี้ยงจิ้งหรีด1. บ่อจิ้งหรีด วัสดุที่จะนำมาเป็นสถานที่เพาะเลี้ยง เช่น บ่อซีเมนต์ กะละมัง ปิ๊ป โอ่ง ถังน้ำ เป็นต้น
2. เทปกาวใช้ติดรอบในด้านบนเพื่อป้องกันไม่ให้จิ้งหรีดออกนอกบ่อ ใช้พลาสติกกว้างประมาณ 5 ซม. ให้ยาวเท่าเส้นขอบวง3. ยางรัดปากวง ใช้ยางในรถจักรยานยนต์ ตัดให้มีขนาดกว้างน้อยกว่าขอบวงด้านนอกเพื่อความสะดวกเมื่อเวลายืดรัดตาข่ายกับขอบวง4. ตาข่ายไนล่อนสีเขียว เป็นตาข่ายสำหรับปิดปากบ่อจิ้งหรีดป้องกันการบินหนีของจิ้งหรีดและป้องกันศัตรูเข้าทำลายจิ้งหรีดตัดให้มีขนาดใหญ่กว่าบ่อจิ้งหรีดเล็กน้อย5.วัสดุรองพื้นบ่อ ใช้แกลบใหม่ๆ รองพื้นหนาประมาณ 1 ฝ่ามือ
6.ที่หลบภัย ใช้เป็นที่หลบซ่อนตัว อาศัยอยู่ เช่น ถาดไข่ชนิดที่เป็นกระดาษ ไม้ไผ่ตัดเป็นท่อนๆ เข่งปลาทู
7. ถาดให้อาหาร ควรเป็นถาดที่ไม่ลึกมาก เพื่อให้จิ้งหรีดได้กินอาหารได้สะดวก
8. ภาชนะให้น้ำ ใช้ที่ให้น้ำสำหรับลูกไก่และต้องมีหินวางไว้สำหรับให้จิ้งหรีดเกาะได้ไม่ตกน้ำ
9. ถาดไข่ สำหรับใช้เป็นที่วางไข่โดยใช้ขันอาบน้ำทั่ว ๆ ไป วัสดุที่ใส่ ใช้ขี้เถ้าแกลบดำ รดน้ำให้ชุ่ม
การจัดการ
1. สถานที่เลี้ยง ต้องป้องกันแสงแดดและฝนได้ อากาศถ่ายเทได้สะดวก เช่น โรงเรือนเลี้ยง ใต้ถุนบ้าน ชายคา บ้าน เป็นต้น
2. พ่อแม่พันธุ์จิ้งหรีด ได้จากจิ้งหรีดตัวเต็มวัยที่ผสมพันธุ์แล้ว โดยไม่ต้องคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ ใน 1 บ่อ มี ประมาณ 8,000 ตัว
3. การขยายพันธุ์ วางถาดไข่สำหรับวางไข่ 4-6 อัน ย้ายถาดไข่ออกวางถาดไข่อันใหม่อีก 4-6 อัน จะได้จิ้งหรีด ที่เป็นรุ่นเดียวกัน ใน 1 บ่อ สามารถวางถาดไข่ได้ 2-3 ครั้ง
4. การให้น้ำให้ดูขวดที่ใส่น้ำถ้าแห้งให้เติมใหม่ ถ้าสกปรกให้ล้างออก หรือใช้ต้นกล้วยดิบตัดเป็นท่อนๆ แตงกวา ชนิดต่างๆ เช่น แตงกวา แตงโม น้ำเต้า ให้จิ่งหรีดดูดกินน้ำ เมื่อตัวเล็กๆ5. การให้อาหาร อาหารหลักได้แก่ผักชนิดต่างๆ เช่นผักกาด กะหล่ำ หญ้า มะละกอ อาหารรองใช้อาหารไก่เล็ก ผสมกับแกลบอ่อน อัตรา 1: 1 เมื่อจิ้งหรีดอายุ 40-50 วัน พร้อมที่จะนำมาบริโภคและจำหน่ายต่อไป
6. เมื่อจับจิ้งหรีดในบ่อแล้ว ให้ทำความสะอาดบ่อเลี้ยงโดยการเก็บวัสดุรองพื้นบ่อออกให้หมด ส่วนขวดน้ำ ถาดอาหาร ถาดไข่ ที่หลบภัย ทำความสะอาดสามารถนำมาใช้ได้อีกค่าตอบแทน
โรคและศัพตรูของจิ้งหรีด
จิ้งหรีดเป็นแมลงที่ไม่ค่อยมีโรคและศัตรูรบกวนมากนัก ควรป้องกันไว้ก่อนดีกว่าการกำจัด ซึ่งจะเป็ฯอันตราต่อจิ้งหรีดและผู้บรืโภคโรคทางเดินอาหาร เกิดจากจิ้งหรีดได้รับอาหารที่ไม่สะอาด เกิดเชื้อรา วิธีป้องกัน คือ การให้อาหารที่มีจำนวนพอเหมาะกับจำนวนจิ้งหรีดเมื่อเก็บผลผลิตหมดแล้วควรทำ ความสะอาดบ่อก่อนนำจิ้งหรีดรุ่นใหม่มาเลี้ยงสัตว์ศัตรู เช่น มด จิ้งจก ไร แมงมุน ป้องกันโดยโช้ตาข่ายคลุมให้มิดชิด
แหล่งข้อมูลจาก http://www.kasedtakon.com/

ปลานิล

ปลานิล
ปลานิลสามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่ทวีปแอฟริกา พบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดานยูกันดา และทะเลสาบแทนกันยีกา ปลานิลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อภายในสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
ผลการทดลองปรากฏว่าปลานิลที่โปรดเกล้าให้ทดลองเลี้ยงได้เจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ต่อมาจึงได้พระราชทานชื่อว่า ปลานิล (โดยมีที่มาจากชื่อแม่น้ำไนล์ (Nile) ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิม หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Tilapia nilotica) และพระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าวให้กับกรมประมงจำนวนหนึ่ง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 เพื่อนำไปขยายพันธุ์และแจกจ่ายแก่พสกนิกร และปล่อยลงไว้ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม เนื่องจากปลานิลมีคุณลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น กินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์น้ำเล็ก ๆ มีขนาดลำตัวใหญ่ ความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี
นปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงและแพร่ขยายพันธุ์ปลานิลในบ่อสวนจิตรลดาต่อไป ในทางวิชาการเรียกสายพันธุ์ปลานิลดังกล่าวว่า ปลานิลจิตรลดา ซึ่งยังคงเป็นปลานิลสายพันธุ์แท้ที่ประเทศไทยได้รับทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ



     ลักษณะทั่วไป
ปลานิลมีเป็นรูปร่างคล้ายปลาหมอเทศ (O. mossambicus) แตกกันที่ปลานิลมีลายสีดำและจุดสีขาวสลับกันไป บริเวณครีบหลัง ครีบก้นและลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล มีลายดำพาดขวางตามลำตัว มีความยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร
อาหาร
ปลานิลกินอาหารได้หลากหลาย เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลง กุ้งฝอย ผักบุ้ง
นิสัย
ปลานิลมีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง (ยกเว้นเวลาสืบพันธุ์) มีความอดทนและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี จากการศึกษาพบว่าปลานิลทนต่อความเค็มได้ถึง 20 ส่วนในพัน ทนต่อค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ได้ดีในช่วง 6.5-8.3 และสามารถทนต่ออุณหภูมิได้ถึง 40 องศาเซลเซียส แต่ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส พบว่าปลานิลปรับตัวและเจริญเติบโตได้ไม่ดีนัก ทั้งนี้เป็นเพราะถิ่นกำเนิดเดิมของปลาชนิดนี้อยู่ในเขตร้อน

การสืบพันธุ์
ปลานิลสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี โดยใช้เวลา 2-3 เดือนต่อครั้ง แต่ถ้าอาหารเพียงพอและเหมาะสม ในระยะเวลา 1 ปี จะผสมพันธุ์ได้ 5-6 ครั้ง โดยตัวผู้จะใช้บริเวณหน้าผากดุนที่ใต้ท้องของตัวเมีย เพื่อเป็นการกระตุ้นและเร่งเร้าให้ตัวเมียวางไข่ ปลาตัวเมียจะวางไข่ออกมาครั้งละ 10 หรือ 12 ฟอง ในขณะเดียวกันปลาตัวผู้ก็จะว่ายคลอคู่เคียงกันไปพร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่นั้น ทำอยู่เช่นนี้จนกว่าการผสมพันธุ์จะแล้วเสร็จ
ไข่ที่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อแล้วปลาตัวเมียจะเก็บไว้ฟัก โดยวิธีอมไข่เข้าไว้ในปาก แล้วว่ายออกจากรังไปยังบริเวณก้นบ่อที่ลึกกว่า ส่วนตัวผู้ก็จะคอยหาโอกาสเวียนว่ายไปเคล้าเคลียกับตัวเมียอื่น ๆ ต่อไป แม่ปลานิลจะอมไข่ไว้ในปากเป็นเวลา 4-5 วัน ไข่จะเริ่มฟักออกเป็นตัว ลูกปลาที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ ๆ จะอาศัยอาหารจากถุงอาหารธรรมชาติซึ่งติดอยู่ที่ท้อง ขณะเดียวกันแม่ปลายังคงต้องอมลูกปลาอยู่ต่อไป จนกระทั่งถุงอาหารธรรมชาติของลูกปลายุบหายไป
หลังจากฟักออกเป็นตัวแล้วประมาณ 3-4 วัน แม่ปลาก็จะคายลูกปลาให้ว่ายออกมาจากปาก ลูกปลาในระยะนี้สามารถกินอาหารจำพวกพืชและไรน้ำเล็ก ๆ ซึ่งมีอยู่ในน้ำ โดยจะว่ายวนเวียนอยู่ที่บริเวณหัวของแม่ปลา และจะเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในช่องปากเมื่อต้องการหลบหลีกอันตราย โดยลูกปลาจะเข้าทางปากหรือช่องเหงือก หลังจากลูกปลามีอายุ 1 สัปดาห์ จึงจะเลิกหลบเข้าไปซ่อนในช่องปากของแม่ แต่แม่ปลาก็ยังคอยระวังศัตรูให้ โดยว่ายวนเวียนอยู่ใกล้บริเวณที่ลูกปลาหาอาหารกินอยู่ ปลานิลจะรู้จักวิธีหาอาหารกินได้เองเมื่อมีอายุได้ 3 สัปดาห์ และมักจะว่ายกินอาหารรวมกันเป็นฝูง
แหล่งข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org




กุ้งฝอย

กุ้งฝอย

    กุ้งฝอย เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่สามารถวัดความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำได้เป็นอย่างดี เพราะว่ากุ้งฝอยเป็นสัตว์น้ำที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก แหล่งน้ำไหนมีความสะอาดและอุดมสมบูรณ์เราจะพบกุ้งฝอยได้มาก แต่ถ้าแหล่งน้ำไหนไม่สะอาดก็จะไม่พบเจอกุ้งฝอยซักตัวเดียว ในปัจจุบันธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปมากแม่น้ำลำคลอง แหล่งน้ำต่าง ๆไม่ค่อยสะอาดเราเลยไม่ค่อยพบเจอกุ้งฝอยในธรรมชาติมากเท่าไรกุ้งฝอยเป็นสัตว์น้ำที่วัด




กุ้งฝอยเป็นสัตว์น้ำที่วัดคุณภาพแหล่งน้ำ
                ด้วยความต้องการของผู้บริโภคที่นิยมรับประทาน กุ้งฝอย ที่สะอาดไม่มีสารเคมีบ่นเบือนเลยมีแนวคิดที่จะนำกุ้งฝอยมาเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจอีกตัวหนึ่ง โดยสามารถที่จะทำเป็นอาชีพเสริม หรือทำเป็นอาชีพหลักได้เช่นกัน ราคาในตลาดของกุ้งฝอยจะตกอยู่ที่ 100 ถึง 200 บาท ในหน้าหนาวกุ้งฝอยจะมีราคาสูงที่สุด นอกจากนั้นกุ้งฝอยสามารถแปรรูปเป็นอาหารได้หลากหลายแบบจึงทำให้มีความต้องการในตลาดที่สูงกุ้งฝอยเป็นสัตว์น้ำที่นิยม
กุ้งฝอยเป็นสัตว์น้ำที่นิยมนำมารับประทาน
วิธีเลี้ยงกุ้งฝอย
การเลี้ยง กุ้งฝอย นั้นไม่ยากเลย เพียงแต่เราต้องเตรียมสถานที่และอุปกรณ์เพื่อจำลองสภาพแวดล้อมให้กุ้งฝอยได้อาศัยอยู่ อุปกรณ์ที่ควรมีในการเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้กับครอบครัว
  1. วงบ่อปูนซีเมนต์ ซึ่งถ้าเป็นปูนใหม่ที่เพิ่งทำเสร็จเราควรที่จะนำเอาปูนขาวโรยในบ่อก่อนที่จะใส่น้ำและแช่น้ำไว้ประมาณ 10 ถึง 15 วันเพื่อลดความเป็นกรดเป็นด่างของปูนให้หมดไปเสียก่อน
  2. ดิน นำดินที่เตรียมไว้รองก้นบ่อประมาณ 7 ถึง 10 เซนติเตมร
  3. พืชน้ำ อาทิ สาหร่าย ผักตบชะวาหญ้าขน นำมาปลูกไว้ในบ่อควรเหลือพื้นที่ให้แสงแดดส่องถึงน้ำในบ่อด้วย
  4. สายยางฉีดน้ำ มีไว้ใช้บังคับให้น้ำไหลในบ่อ เพื่อให้กุ้งได้วางไว่ในธรรมชาติถ้าน้ำนิ่งๆกุ้งฝอยจะไม่วางไข่
  5. ตะข่ายปิดปากบ่อเพื่อป้องกันศัตรูตามธรรมชาติ อาทิ เขียด กบ งู เป็นต้น

 แหล่งข้อมูลจาก  http://www.thaiarcheep.com/